องค์การบริหารส่วนตำบลเป๊าะ call ข้อมูลการติดต่อ

องค์การบริหารส่วนตำบล
เป๊าะ
อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีษะเกษ

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลเป๊าะ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ
info อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่
มาตรา ๔๖ สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ ๑. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล ๒.พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ๓.ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบายแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบและข้อบังคับทางราชการ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา ๕๘ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่่งซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสามชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น มาตรา ๕๘/๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่วันเลือกตั้งและมีระยะการดำรงตำแหน่งครวละสี่ปีนับตั้งแต่วันเลือกตั้ง มาตรา ๕๘/๓ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมายได้ไม่เกินสองคนและอาจแต่งตั้งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคนหนึ่งซึ่มิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ มาตรา ๕๙ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ ๑.กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เ็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ ๒.สั่งอนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล ๓.แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ๔.วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ๕.รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ๖.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามบัญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจใหแก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 กำหนดให้ อบต.มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบในการบริหารสาธารณะ เพื่อให้ประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้ (1.)การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (2.)การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ (3.)การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ (4.)การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (5.)การสาธารณูปการ (6.)การส่งเริม การฝึก และการประกอบอาชีพ (7.)การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน (8.)การส่งเสริมการท่องเที่ยว (9.)การจัดการศึกษา (10.)การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (11.)การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (12.)การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (13.)การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (14.)การส่งเสริมกีฬา (15.)การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (16.)ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (17.)การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (18.)การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย (19.)การสาธรณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (20.)การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน (21.)การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (22.)การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ (23.)การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ (24.)การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (25.)การผังเมือง (26.)การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร (27.)การดูแลรักษาที่สาธรณะ (28.)การควบคุมอาคาร (29.)การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (30.)การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาปลอดภัยใน ชีวิตและทรัพย์สิน